1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งรวมเอาเครือข่ายย่อยเป็น จำนวนมากต่อเชื่อมภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ทำให้ทั่วโลกเชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่ายเดียวกันได้ในแพลตฟอร์มของ เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web)
ลักษณะของเวิล์ด ไวด์ เว็บ (World Wide Web)
เวิล์ด ไวด์ เว็บ (World Wide Web – www) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เว็บ (web) เป็นอินเตอร์เน็ตชนิหนึ่ง ที่อยู่ในรูปแบบของกราฟิกและมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วยข้อความ (Text) ภาพ (Graphic) เสีย (Sound) และ ภาพเคลื่อนไหว (Movie) เป็นต้นผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าไปในเว็บได้ง่าย และจะได้รับข้อมูลครบถ้วนปัจจุบัน ถ้าพูดถึงอินเตอร์เน็ต คนทั่วไปจะเข้าใจว่าหมายถึงเว็บ ทั้งที่จริงแล้วเว็บเป็นส่วนหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่า นั้น
เว็บไซต์ (Website) และเว็บเพจ (Webpage)
เอกสารหรือส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้ในเว็บ เรียกว่า เว็บเพจ (Webpage) หมายถึงเอกสารหนึ่งหน้า การใช้เว็บก็คือการเปิดอ่านหรือเปิดใช้เว็บแต่ละหน้านั่นเอง เว็บเพจอาจสร้างขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น HTML, ASP, PHP, JAVA ฯลฯ
เมื่อนำเว็บเพจหลาย ๆ หน้ามารวมกัน และระบุอยู่ในอินเตอร์เน็ต หรือ ยูอาร์แอล (Uniform Resource Locator – URL) ให้กับเว็บเพจกลุ่มนั้นจะเรียกว่า เว็บไซต์ (Web Site)
เมื่อเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาจะพบกับหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งเรียกว่าโฮมเพจ (Homepage) ซึ่งเป็นหน้าที่ สำคัญที่สุดและเป็นหน้าที่จะเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจและเว็บไซต์อื่น ๆ
เว็บเบราเซอร์ (Web Browser)
เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดเว็บเพจหรือ รับส่งข้อมูลตามที่เครื่องลูกข่ายร้องขอเมื่อเราเปิดเข้าสู่อินเตอร์เน็ต เว็บเบราเซอร์ที่ได้รับความนิยมปัจจุบันมีหลายโปรแกรม เช่น Microsoft Internet Explorer (IE), Mozilla Firefox, และ Opera
ภาษา HTML
ภาษา HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจ โดยจะได้รับการแปลหรือการแสดงผลโดยเว็บ เบราเซอร์ซึ่งสามารถแสดงได้ทั้งข้อความ ภาพ และเสียง
โดเมนเนม (Domain Name)
โดเมนเนม (Domain Name) หรือที่เข้าใจกันทั่วไป คือ ชื่อเรียกเว็บไซต์นั่นเอง การจดทะเบียนโดเมนเนมจึงเป็นการลงทะเบียนชื่อให้กับเว็บไซต์ของเราในโลก อินเตอร์เน็ต โดเมนเนมที่ขอจดทะเบียนจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น และควรตั้งให้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ ตลอดจนใช้คำง่าย ๆ ให้จำได้ เช่น sanook.com และ yahoo.com เป็นต้น
ความหมายของซับโดเมน
Com
edu gov mit net org |
กลุ่มองค์การค้า(Commercial) กลุ่มการศึกษา(Education) กลุ่มองค์การรัฐบาล(Government) กลุ่มองค์การทหาร(Military) กลุ่มองค์การบริการเครือข่าย(Network Services) กลุ่มองค์กรอื่นๆ (Organizations) |
เช่น www.ibm.com เช่น www.chula.edu เช่น www.whitehouse.gov เช่น www.dtic.mil เช่น www.greenpeace.org |
โดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศที่น่าสนใจ
โดเมนเนมเหล่านี้ จะใช้ต่อตอนท้ายสุด เพื่อสะดวกในการอ้างอิงว่าเป็นโฮสต์หรือเว็บไซต์ที่อยู่ในประเทศใด เช่น www.ksc.net.th จะเห็นว่า ลงท้ายด้วย th จะเป็นโดเมนของประเทศไทย
au
fr hk jp th sg uk |
ออสเตรเลีย Austtralia ฝรั่งเศส France ฮ่องกง Hong Kong ญี่ปุ่น Japan ไทย Thailand สิงคโปร์ Singapore อังกฤษ United Kingdom |
ac
co or net go |
สถาบันการศึกษา(Academic) องค์กรธุรกิจ(Commercail) องค์กรอื่นๆที่ไม่แสวงหากำไร(Organizations) ผู้วางระบบเน็ตเวิร์ค(Networking)หน่วยงานรัฐบาล(Government) |
หลักการออกแบบเว็บไซต์สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เริ่มต้นใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์
- การวางแผน
- การกำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์ของเว็บไซต์
- การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
- การเตรียมข้อมูล
- การเตรียมสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็น
- การจัดโครงสร้างข้อมูล
- โครงสร้างและสารบัญของเว็บไซต์
- การใช้ระบบนำผู้เข้าชมไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์หรือที่เราเรียกว่าระบบนำทาง (Navigation)
- องค์ประกอบที่ต้องนำมาใช้ เช่น สื่อมัลติมีเดีย ภาพกราฟิก แบบฟอร์มต่าง ๆ
- การกำหนดรูปแบบและลักษณะของเว็บเพจ
- การกำหนดฐานข้อมูล ภาษาสคริปต์หรือแอปพลิเคชันที่นำมาใช้ในเว็บไซต์
- การบริการเสริมต่าง ๆ
- การออกแบบเว็บไซต์
ในการออกแบบเว็บไซต์นั้นยังต้องคำนึงถึงสีสันและรูปแบบของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ภาพกราฟิก เช่น ขนาดของตัวอักษร สีของข้อความ สีพื้น ลวดลายของเส้นกรอบเพื่อความสวยงามและดึง ดูดผู้เยี่ยมชมด้วย
เราสามารถจำแนกส่วนประกอบของหน้าเว็บเพจ เป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนหัว (Page Header) น่าจะอยู่บริเวณบนสุดของหน้าเว็บเพจ เป็นส่วนที่แสดงชื่อ
เว็บไซต์ โลโก้ แบนเนอร์โฆษณาลิงก์สำหรับข้ามไปยังหน้าเว็บอื่น
3. ส่วนท้าย (Page Footer)
จะอยู่บริเวณด้านล่างสุดของหน้าเว็บเพจ ส่วนมากใช้สำหรับลิงก์ข้อความสั้น ๆ
เข้าใจง่าย หรือจะมีชื่อเจ้าของเว็บไซต์
อีเมลแอดเดรสของผู้ดูแลเว็บไซต์สำหรับติดต่อกับทางเว็บไซต์
- ดูจากเว็บไซต์อื่นเพื่อเป็นตัวอย่าง การดูจากเว็บไซต์อื่นบนอินเตอร์เน็ตเพื่อศึกษาเป็นตัวอย่างนั้น นับเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด แต่ก็ควรนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายของเราด้วย
- ศึกษาจากสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ สื่อสิ่งพิมพ์ในที่นี้ ได้แก่ แมกกาซีน โปสเตอร์โฆษณา โบรชัวร์ หรือหนังสือบางเล่มที่มีรูปแบบและจุดดึงดูดความสนใจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเว็บไซต์ของเราได้เช่นกัน
- ...........................................................................................................................
- อ้างอิง: http://www.com-learning2u.com/unit/unit1/1.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น